วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารไทย


  
 
   

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด[1]
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น

จุดเด่น

  คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า
อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็น อาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย

จุดกำเนิด

อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

สมัยสุโขทัย

อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

สมัยอยุธยา

สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่า ไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มาอาหารอยุธยามีเช่น หนอนกะทิ วิธีทำคือ ตัดต้นมะพร้าว แล้วเอาหนอนที่อยู่ในต้นนั้นมาให้กินกะทิแล้วก็นำมาทอดก็กลายเป็นอาหารชาว วังขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลาย อยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด

พ.ศ. 2394–ปัจจุบัน

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วน ประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย
 

โดย http://th.wikipedia.org/wiki/
 

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพลง ตั้งใจ



เพลง ตั้งใจ



 




·  เนื้อเพลง ตั้งใจ-เอ๊ะ จิรากร
วันเวลาที่หมุนเลยไปทำให้สิ่งไหน
เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ก็ตาม
แต่วันเวลาไม่หมุนหัวใจให้หวั่นไหว
ทุกภาพในใจยังสวยงาม
แม้ว่าเรานั้นแยกกันไปตั้งนาน
แม้ว่าเธอนั้นพบบางคนที่ตรงกับหัวใจ
อาจไม่มีฉัน เหลืออยู่ในห้วงความจำ ไม่เป็นไร
แค่อยากให้รู้ไว้ว่าฉันนั้นยังรักเธอ หมดทั้งหัวใจ
ฉันนั้นยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปไหน
แม้ต้องมองเห็นเธอ จับมือของใครฉันก็จะไม่โกรธ
จะไม่โทษที่เธอต้องไปและที่ฉันยังศรัทธาในรักเดียว
และที่ฉันยังไม่เหลียวมองคนไหน
สิ่งที่มันทำให้ฉันไม่หวั่นไหว
เพราะฉันตั้งใจ ว่าจะไม่รักใครอีกนอกจากเธอ
เธอคงลืมที่ฉันพูดไป เมื่อก่อนนั้น ตอนเรารักกันใหม่ใหม่
เธอคงลืมที่ฉันสัญญาที่บอกไว้ ว่าให้เธอเป็นคนสุดท้าย
ถึงยังมองว่าฉันงมงายอยู่นาน
ถึงยังมองว่าฉันรอคอยแต่เธอเพื่ออะไร
สิ่งที่เคยฝัน เธออาจจะลบลืมมันได้ง่ายดาย
แต่อยากให้รู้ไว้ว่าฉันนั้นยังรักเธอ หมดทั้งหัวใจ
ฉันนั้นยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปไหน
แม้ต้องมองเห็นเธอ จับมือของใคร ฉันก็จะไม่โกรธ
จะไม่โทษที่เธอต้องไป และที่ฉันยังศรัทธาในรักเดียว
และที่ฉันยังไม่เหลียวมองคนไหน
สิ่งที่มันทำให้ฉันไม่หวั่นไหว
เพราะฉันตั้งใจ ว่าจะไม่รักใครอีกนอกจากเธอ
แม้ว่าเรานั้นแยกกันไปตั้งนาน
แม้ว่าเธอนั้นพบบางคนที่ตรงกับหัวใจ
อาจไม่มีฉันเหลืออยู่ในห้วงความจำ ไม่เป็นไร
แค่อยากให้รู้ไว้ ว่าฉันนั้นยังรักเธอ หมดทั้งหัวใจ
ฉันนั้นยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปไหน
แม้ต้องมองเห็นเธอ จับมือของใคร ฉันก็จะไม่โกรธ
จะไม่โทษที่เธอต้องไป และที่ฉันยังศรัทธาในรักเดียว
และที่ฉันยังไม่เหลียวมองคนไหน
สิ่งที่มันทำให้ฉันไม่หวั่นไหว
เพราะฉันตั้งใจ ว่าจะไม่รักใครอีกนอกจากเธอ
เข้าใจไหม ฉันตั้งใจ จะรักแค่เธอ

                                   

โดย http://เพลงมาใหม่.com

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำฤดู



ดอกไม้ประจำฤดูกาล

     สำหรับดินแดนประเทศจีนอันแสนยิ่งใหญ่ ย่อมจะมีดอกไม้นับพันนับหมื่นชนิด หลายร้อยหลายพันรูปแบบและสีสัน ซึ่งแต่ละฤดูก็มีดอกไม้แตกต่างกันไป ชาวจีนจึงได้จัดดอกไม้ที่เป็นสุดยอดของแต่ละฤดูไว้อย่างน่าสนใจ

1.“เหมยฮวา” ปัญญาชนแห่งฤดูหนาว

ดอกเหมยมีชื่อลาตินว่า Prunus mume หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Mumeplant Japanese Apricot ปัจจุบันมีอยู่กว่า 300 ชนิด เป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน เป็นดอกไม้ที่ชอบขึ้นในที่สูง ชอบอากาศหนาว โดยเฉพาะบริเวณมณฑลยูนนาน ดังนั้น เมื่อหิมะโปรยปราย อากาศหนาวเหน็บ ดอกไม้ชนิดอื่นร่วงโรยไปเพราะความหนาวเย็น จะมีเพียงดอกเหมยเท่านั้นที่ออกดอกสีสดใส ตัดกับสีขาวบริสุทธิ์ของหิมะ
  
2.“โบตั๋น” ราชาแห่งฤดูใบไม้ผลิ

 
  โบตั๋น หรือภาษาจีนกลางว่า “มู่ตัน” มีชื่อลาตินว่า Paeonia suffruticosa หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Tree Peony เป็นดอกไม้ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานควบคู่กับประวัติศาสตร์จีน มีสีต่างๆมากถึง 8 สี ได้แก่ สีขาว เหลือง ชมพู แดง ม่วง ดำ เขียว และน้ำเงิน อีกทั้งชาวจีนยังยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจำชาติอีกด้วย
 3.“ดอกบัว” ผู้บริสุทธิ์และสูงศักดิ์แห่งฤดูร้อน





 ดอกบัวมีชื่อภาษาจีนว่า “เหอฮวา” หรือ “เหลียนฮวา” มีชื่อลาตินว่า Nelumbo nucifera หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Chinese Lotus ซึ่งจะต่างจากดอกบัวแบบ Hindu Lotus จัดเป็นหนึ่งในดอกไม้มงคลของจีน เนื่องจากคำว่าเหลียนฮวานั้นไปพ้องกับคำที่หมายถึง โชคดี สิริมงคล ของจีนอีกทั้งบัวยังมีเมล็ดมาก ดังนั้น ชาวจีนจึงใช้เมล็ดบัวเป็นสัญลักษณ์ในการอวยพรให้มีลูกหลานมากมายอีกด้วย

4.“จวี๋ฮวา” ปัญญาชนผู้เร้นกายแห่งฤดูร้อน


 


ดอกจวี๋ฮวามีชื่อลาตินว่า Dendranthema morifolium หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Florists Chrysanthemum เป็นดอกไม้ที่มีสีสันสดใสและกลีบดอกหนาเป็นพุ่มสวยงาม ตรงเกสรมีกลิ่นหอม ในสมัยโบราณชาวจีนในราชสำนักนิยมปลูกดอกจวี๋ฮวากันมาก จนถึงกับมีเทศกาลชมดอกจวี๋ฮวา
 


อ้างอิง http://two-gen.com/